Wednesday, August 20, 2014

การทำนาหว่านน้ำตม

การทำนาหว่านน้ำตมที่จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ มีคันนาล้อมรอบและสามารถควบคุมน้ำได้ การเตรียมดินก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินในนาดำ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในนามีเวลางอกเป็นต้นข้าว เพื่อลดปัญหาข้าวเรื้อ หรือข้าววัชพืชในนา แล้วจึงไถดะ แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้เมล็ดวัชพืช งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงปล่อยน้ำเข้านา แล้วทำการไถแปรและคราด หรือใช้ลูกทุบ จะช่วยทำลายวัชพืชได้ หากทำเช่นนี้ 1-2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น โดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 4-5 วัน หลังจากไถดะไถแปร และคราดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขังน้ำไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบชวา ขาเขียด แห้วทรงกระเทียม ผักปอดและกกเล็ก เป็นต้น งอกเสียก่อน จึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าจะหลุดลอยไปติดคันนาใต้ทางลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงไปในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรเอาน้ำแช่ไว้ ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อน อย่างน้อย 3 อาทิตย์ แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าว จะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถหาอาหารได้ หลังจากนั้นจึงระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก

การปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก การงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ เพราะเมล็ดข้าวมักจะตายถ้าตกลงไปในแอ่งหรือหลุมที่มีน้ำขัง เว้นแต่กรณีดินเป็นกรดจัดละอองดินตกตะกอนเร็วเท่านั้นที่ต้นข้าวสามารถขึ้นได้ แต่ถ้าแปลงใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำเกิดคลื่น ทำให้ข้าวหลุดลอยง่าย และข้าวรวมกันเป็นกระจุก ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ยังช่วยควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการทำนาหว่านน้ำตมอีกด้วย การปรับพื้นที่ทำเทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวัน เพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดกว้าง 3-5 เมตร ยาวตามความยาวของกระทงนา ทั้งนี้แล้วแต่ความสามารถของคนหว่าน ถ้าคนหว่านมีความชำนาญอาจแบ่งให้กว้าง การแบ่งอาจใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระหว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย และพ่นสารเคมีได้ตลอดแปลง โดยไม่ต้องเข้าไปในแปลงย่อยได้อีกด้วย

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

- ตรวจความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ พิจารณาว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปนหรือไม่ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย รูปร่างเมล็ดมีความสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปน หรือมีโรค แมลงทำลายก็ไม่ควรนำมาใช้ทำพันธุ์

- การทดสอบความงอก โดยการนำเมล็ดข้าว จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ ความงอก อาจทำ 3-4 ซ้ำ เพื่อความแน่นอน เมื่อรู้ว่าเมล็ดงอกกี่เปอร์เซ็นต์จะได้กะปริมาณพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้ถูกต้อง

- คัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดที่แข็งแรง มีน้ำหนักเมล็ดดีที่เรียกว่าข้าวเต็มเมล็ด จะได้ต้นข้าวที่เจริญเติบโตแข็งแรง

อัตราเมล็ดพันธุ์

อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการทำนาหว่านน้ำตม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือ
ถ้ามีการเตรียมดินไว้ดี มีเทือกอ่อนนุ่ม พื้นดินปรับได้ระดับ เมล็ดที่ใช้เพียง 7-8 กิโลกรัมหรือ 1 ถังต่อไร่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูง แต่ถ้าพื้นที่ปรับได้ไม่ดี การระบายน้ำทำได้ยาก รวมถึงอาจมีการทำลายของนก หนู หลังจากหว่าน เมล็ดที่ใช้หว่านควรมากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสีย ดังนั้นเมล็ดที่ใช้ควรเป็นไร่ละ 15-20 กิโลกรัม

การหว่าน

ควรหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ข้าวจะได้รับธาตุอาหาร แสงแดด และเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ทำให้ได้ผลผลิตสูง โดยเดินหว่านในร่องแคบๆ ที่ทำไว้ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านแต่ละแปลงย่อย ควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามขนาดและจำนวนแปลงย่อย เพื่อเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปจะได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ในนาที่เป็นดินทรายมีตะกอนน้อยหลังจากทำเทือกแล้วควรหว่านทันที กักน้ำไว้หนึ่งคืนแล้วจึงระบายออก จะทำให้ข้าวงอกและจับดินดียิ่งขึ้น

การดูแลรักษา

การทำนาหว่านน้ำตม จะต้องมีการดูแลให้ต้นข้าวงอกดีโดยพิจารณาถึง

        1. พันธุ์ข้าว การใช้พันธุ์ข้าวนาปีซึ่งมีลำต้นสูง ควรจะทำการหว่านข้าวให้ล่า ให้อายุข้าวจากหว่านถึงออกดอกประมาณ 70-80 วัน เนื่องจากความยาวแสงจะลดลง จะทำให้ต้นข้าวเตี้ยลง เนื่องจากถูกจำกัดเวลาในการเจริญเติบโตทางต้นและทางใบ ทำให้ต้นข้าวแข็งขึ้นและไม่ล้มง่าย สำหรับข้าวที่ไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรังไม่มีปัญหา เพียงแต่กะระยะให้เก็บเกี่ยวในระยะฝนทิ้งช่วง หรือหมดฝน หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าวบางพันธุ์ เช่น ปทุมธานี 1 ออกดอกในฤดูหนาวเป็นต้น

        2. ระดับน้ำ การจะผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงการควบคุมระดับน้ำเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มหว่านจนข้าวแตกกอ ระดับน้ำไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่ ระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องสูบน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร เพราะถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ต้นข้าวที่แตกกอเต็มที่แล้ว เพิ่มความสูงของต้น และความยาวของใบ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร เป็นเหตุให้ต้นข้าวล้ม เกิดการทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย

        3. การใส่ปุ๋ย ต้องใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการ จำนวนที่พอเหมาะ จึงจะให้ผลคุ้มค่า

        4. การควบคุมวัชพืช วัชพืชเป็นปัญหาใหญ่ในการทำนาหว่าน้ำตม การปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบสม่ำเสมอและการควบคุมระดับน้ำจะช่วยลดประชากรวัชพืชได้ส่วนหนึ่ง ถ้ายังมีวัชพืชในปริมาณสูงจำเป็นต้องใช้สารเคมี

        5. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว ปฏิบัติเหมือนการทำนาดำ

ที่มา: http://www.brrd.in.th

Sunday, August 17, 2014

ขั้นตอนการทำนาน้ำตม สำหรับเครื่องหยอดเมล็ดข้าว

การเตรียมดินสำหรับการทำนาน้ำตม

1. เริ่มตั้งแต่ไถกลบตอฟางหลังฤดูเก็บเกี่ยว 1 รอบ (ประมาณเดือนธันวาคม)
2. จากนั้นก็ไถพรวนก่อนเข้าสู่ฤดูฝนอีกรอบ (ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม)
3. ตอนลงมือหยอดข้าวไถอีกหนึ่งรอบแล้วคราดนาตม  เริ่มหยอดข้าวในเดือนมิถุนายน

การควบคุมวัชพืชสำหรับการทำนาน้ำตม

เนื่องจากการหยอดข้าวนาตม  อัตราการงอกของข้าวสูงมากเกือบร้อยละ 99% และช่องว่างระหว่างแถวของต้นข้าวไม่เกิน 20-25ซม. ส่วนระยะห่างระหว่างต้นไม่มี (ต้นข้าวชิดกัน) เมื่อเวลาผ่านไป 7-10 วัน หลังต้นข้าวงอก ให้เริ่มปล่อยน้ำเข้าไปขังในนา (ถ้าสามารถทำได้) จะช่วยควบคุมหญ้าวัชพืชได้ร้อยละ 70% ส่วนที่เหลือใช้วิธีถอน ส่วนท่านที่ต้องการใช้สารควบคุมวัชพืชก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านเคมีเกษตรใกล้บ้าน  ซึ่งจะมีทั้งคุมทั้งฆ่าในขุดเดียวกัน  ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยควบคุมวัชพืชคือ การควบคุมระดับน้ำในนาข้าว

การแก้ไขปัญหาเมล็ดข้าวลอยน้ำสำหรับการทำนาน้ำตม

เริ่มจากการนำเมล็ดข้าวลงไปแช่น้ำ  ควรซาวเมล็ดข้าวลีบทิ้งก่อนจนหมด  จากนั้นให้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวใส่ในกระสอบปุ๋ยมัดปากให้แน่น  แล้วนำไปแช่ในน้ำบ่อหรือสระตามหัวไร่ปลายนา (ไม่จำเป็นต้องแช่ในถังพลาสติก) เมื่อครบกำหนด 24ชม. ก็นำเมล็ดข้าวขึ้นจากน้ำแล้วจับกระสอบนอนราบไว้กับพื้นดิน (ในขั้นตอนนี้ไม่ต้องเปิดปากกระสอบหรือนำเมล็ดข้าวออกจากกระสอบ)  ทิ้งไว้อีก 24 ชม. ค่อยตักเมล็ดพันธุ์ข้าวจากกระสอบลงในเครื่องหยอดข้าวได้เลย  โดยไม่ต้องนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปผึ่งลมเพราะจะทำให้เมล็ดข้าวแห้งจนเกินไปเมื่อนำไปหยอดในนาบริเวณที่มีน้ำขังเมล็ดข้าวที่แห้งจะไม่จมน้ำ (เมล็ดข้าวลอยน้ำ)

การทำนาน้ำตม ด้วยเครื่องหยอดเมล็ดข้าวของเวียดนาม

เครื่องหยอดเมล็ดข้าว
สำหรับเครื่องหยอดเมล็ดข้าวชนิดนี้มีข้อเสียที่ต้องปรับปรุงหลายอย่างนับตั้งแต่วัสดุที่ใช้ผลิต ได้แก่  พลาสติก และเหล็ก  ข้อต่อต่างๆ ทำได้ห่วยแตกมากๆ  แกนเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กคุณภาพต่ำไม่สามารถจะรับน้ำหนักในปริมาณมากได้  ถ้าเราใส่เมล็ดข้าวในกระบอกพลาสติกมากไปเหล็กจะอ่อนแทบหักไปเลย  วงล้อออกแบบมาดีแต่มาเสียตรงน็อตที่ใช้หมุนล็อกล้อกับแกนเหล็กไม่ได้ขนาดกันเอาเสียเลย

ถ้าเราคิดว่าซื้อเหล็กและพลาสติกด้วยเงิน 3,800 บาท เรียกว่า "ขาดทุน"  แต่ถ้าหากคิดว่าซื้อนวัตกรรมเพื่อนำมาดัดแปลงหรือปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น "นับว่าคุ้มค่ามาก" ซึ่งจะเล่าต่อไปโดยวัดจากผลงานของเครื่องหยอดข้าวชนิดนี้

ขั้นตอนใ่นการทำนาหยอดน้ำตมนี้ง่ายมาก...  ถ้าจะเปรียบเทียบกับการทำนาของภาคอีสานก็คือ หว่านกล้า  โดยเดือนมิถุนายน  เป็นเดือนที่เหมาะสมที่จะเริ่มลงมือทำนา  แต่การทำนาชนิดนี้จะให้ได้ผลดีควรมีแหล่งน้ำที่พร้อมและสามารถควบคุมหรือปิดเปิดระดับน้ำในแปลงนาได้จะดีมากๆ  ...ก่อนไถและคราด (ภาษาภาคกลางเรียก ตีเืทือก หรือ ทำเทือก) ควรปล่อยน้ำในแปลงนาออกให้เหลือไม่เกิน 5-10ซม.  ถ้าน้ำสูงไปกว่านี้จะทำให้กระปุกหยอดข้าวเปียกน้ำได้  ผลก็คือเมล็ดข้าวเปียกน้ำเมล็ดข้าวจะไม่ออกตามรูหยอดได้

พันธุ์ข้าวที่นำมาหยอดต้องแช่น้ำ 24ชม. และนำขึ้นมาพักไว้อีก 24ชม. แต่จากประสบการณ์พอพันธุ์ข้าวไม่พอจริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องพักถึง 24ชม. ก็ได้  แต่อย่างน้อยๆ ควรพักไว้ 12ชม. จึงค่อยเริ่มหยอด  ไม่แนะนำให้หยอดข้าวแห้งหรือข้าวไม่ได้แช่น้ำ

เมล็ดพันธุ์ข้าวควรเติมแค่ 1/2 ของกระปุกหยอดข้าว เพราะจะทำให้การกระจายของเมล็ดข้าวพอดี... ส่วนเทคนิคในการหยอดข้าวนาตม  สำหรับมือใหม่ควรลากเครื่องหยอดในช่วงสั้นๆ ไม่ควรลากตามแนวยาวเพราะส่วนมากแล้วจะทำให้แถวหยอดข้าวไม่ตรง

สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ช่วงที่หยอดข้าวควรตรวจดูสภาพอากาศและต้องแน่ใจว่า "ต้องไม่มีฝนตก" ไม่อย่างนั้นแล้วข้าวที่หยอดไว้จะเละตุ้มเป๊ะอย่างแน่นอน  ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวหากทำตามกำหนดคือ แช่ 24ชม. พักไว้ 24ชม. รับรองว่าอัตราการงอก 99% แน่นอน  ส่วนจุดที่มีน้ำขังควรปล่อยหรือละทิ้งให้แห้ง  อย่างน้อยๆ ภายใน 2-3 วัน

เดิมทีทำนา 8 ไร่ ใช้เวลา 10-12 วัน  แต่พอเปลี่ยนมาทำนาหยอดน้ำตม  ใช้เวลาแค่ 2 วัน  ลองคิดกันเอาเองว่า  ต้นทุนจะลดลงไปมากแค่ไหน

ที่มา: http://www.kasetporpeang.com


การทำนาน้ำตม ด้วยเครื่องหยอดเมล็ดข้าวของอินเดีย

เครื่องหยอดเมล็ดข้าว โทร: 095-608-3175
เครื่องหยอดเมล็ดข้าวของอินเดีย

ที่อินเดียและบังคลาเทศเค้าใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าวแบบนี้กันมานานมากแล้ว เครื่องหยอดเมล็ดข้าวงอกของอินเดียรุ่นนี้เป็นรุ่นล่าสุด ซึ่งปรับปรุงและพัฒนาจากรุ่นต้นแบบแล้ว ทำให้เมล็ดข้าว ที่หยอดสม่ำเสมอกว่า ผลจากการทดสอบแล้วกับข้าวไทย หอมปทุมฯเมื่อ (30 กย. 54) ในเงื่อนไขที่ ดูความยาวของเมล็ดข้าว ปรับความกว้างของรูปล่อยเมล็ดต่ออัตราการร่วงในการหยอด ผลออกมาเป็นที่พอใจมาก ประหยัดจนเหลือเชื่อ บอกได้เลยว่า คุ้มมากๆ

แค่ต้นทุนค่าพันธุ์ข้าว ก็ประหยัดไปแล้วประมาณ 625 บาท/ไร่ (คนที่ให้ข้อมูลนี้ บอกว่า) เค้าทำ 9 ไร่ แค่หน้า(ฤดู) เดียวก็คุ้มเกิน ราคาแล้วครับ ยังไม่นับหากไปรับจ้างลากอีก พูดคำเดียวว่า เวิร์คมาก ๆ ครับ กระบอกใส่ข้าว ชุดหนึ่งมีกระบอกใส่ข้าว 4 ลูก ตัวกระบอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม (ยาวเท่าไหร่ไม่บอก) รูเมล็ดหล่น 9 มิล มีรูข้างละ 14 รู มีจุก (สีเหลือง) ปิดเพื่อให้หยอดข้าวได้ข้างละ 7 รู ความยาวของก้านที่สวมกระบอกยาว 2 เมตร ครับ

การประกอบ การขนส่งง่าย เบาแรง ใช้มอเตอร์ไซด์ติดรถพ่วงข้าง บรรทุกอุปกรณ์และกระสอบข้าวที่แช่พร้อมหยอด คนเดียวทำได้สบาย ที่อินเดีย / บังคลาเทศ เค้าลากครั้งเดียวพร้อมๆ กันใช้ 3 เครื่อง ลาก 3 คน นา 25 ไร่ ลากกันไป คุยกันไป ลากวันเดียวก็เสร็จ 3 เครื่องแค่ 15,000 ราคาเท่ากับข้าวเกวียนเดียวเอง ลงทุนปีเดียวเกินคุ้ม

จากการทดลอง พบปัญหาดังนี้

1. แกนเหล็กกลางที่ใส่กระบอกใช้ลาก เป็นเหล็ก 3 ท่อน เอามาต่อกันแล้วใช้เพียงน๊อตยึดให้ติดกัน ปัญหาคือ แกนจะอ่อนโย้เย้ได้

วิธีแก้ปัญหาคือ ถ้าเชื่อมให้ติดกันหรือ ถ้าเปลี่ยนเป็นเหล็กยาวท่อนเดียวจะแข็งแรงดีขึ้น

2. สำหรับนาหล่ม (มาก) ล้อจะจมดินมากหน่อย ทำให้กระบอกใส่ข้าวติดดินหรือติดเลนหรือน้ำ เพราะภาคกลางจะเป็นดินเหนียว และต้องทำเทือกก่อนหว่าน เมื่อเปียกน้ำแล้วข้าวที่อยู่ในกระบอกจะไม่ค่อยหล่นเพราะรูเปียกน้ำเปื้อนโคลน (คือดินไปอุดรู ว่างั้น)

วิธีแก้คือ ทำล้อให้สูง (กว้าง) กว่าเดิมในพื้นที่นาหล่ม หรือปล่อยทิ้งให้เทือกแห้งอีกหน่อย น่าจะแก้ปัญหาได้

3. การลาก ในนาหล่ม จะต้องใช้กำลังมาก ผมลองทำเองแล้ว ตะคริวกินเลยครับ ที่คิดไว้คือ ใช้รถไถนาเดินตามลากแทน โดยดัด แปลงเอาเครื่องหยอดติดพ่วงด้านหลัง แต่ไม่ค่อยสะดวกเท่าที่ควร

ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง หากมีน้ำในนา เวลาดินปนน้ำโคลนตกลงมาโดนกงล้อของเครื่องลาก ก็จะกระเซ็นมา โดนรูข้าวออกทำให้บางทีก็เป็นสิ่งกีดขวางทางเข้าออก ทำให้ข้าวออกไม่สะดวก

การแก้ไข

1. สังเกตว่าถ้าเราไขน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย แล้วปล่อยให้หน้าดินแห้ง ก็จะลดปัญหาได้

2. ต้องลากด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ ไม่เร็วหรือกระชาก เพราะว่า ผมอ่านจากผลการทดสอบของ มหาวิทยาลัย ทมิฬนาดูลที่อินเดีย การลากเร็ว หรือลากช้า ด้วยแรงคน จะมีผลต่ออัตราเมล็ดข้าวที่ใช้ต่อไร่น้อยมาก

ดังนั้น ทำเทือกแล้วปล่อยน้ำให้แห้งมากหน่อย แห้งกว่านาหว่าน ไม่อย่างนั้นจะควบคุมคุณภาพการหล่นของเมล็ดข้าวได้ยาก ตมที่ ติดกับล้อแล้วหล่นลงมาทำให้แถวไม่เป็นระเบียบ ในแนวที่ติดกับล้อ

สรุป

- การเตรียมดินสำหรับเครื่องหยอด ไม่ควรให้เป็นเลนโคลนลึกเกิน 5 นิ้ว และควรระบายน้ำออก ปล่อยทิ้งไว้จนเกือบแห้ง (อาจจะต่างจากการทำนาหว่านน้ำตมปกติเล็กน้อย) เพื่อให้การลากไม่กินแรงหนักเกินไป และถ้าเลนโคลนลึกเกินไป น้ำโคลนอาจจะสัมผัสหรือกระเด็นถูกรูหยอด ทำให้เมล็ดข้าวไม่ค่อยออก(จากรู) นอกจากนี้ ถ้าเลนโคลนลึก เมล็ดข้าวบางส่วนอาจจมโคลนเน่าตายไม่งอกต่อ

- บางคนมีแนวคิดขยายล้อให้กว้างหรือสูงขึ้น เผื่อใช้กับนาที่เป็นเลนโคลนลึก แต่อาจส่งผลดังนี้

ถ้ารูหยอดอยู่สูงกว่าพื้นดินมาก เมล็ดข้าวจะตกกระจายมากขึ้น จะกลายเป็นลักษณะนาหว่าน คือแถวจะไม่คมและระยะหยอดจะไม่ได้ตามที่คิดไว้ อาจเป็นปัญหากับผู้ที่จะใช้งานร่วมกับเครื่องพรวนหญ้า (Rotary Weeder) ต่อไป

เทคนิคการเตรียมดินสำหรับนาที่จะใช้เครื่องหยอดแถวข้าวงอก (Rice Drum Seeder)จากประสบการณ์ของผู้ใช้เครื่อง หยอดเมล็ดอีกกลุ่มหนึ่ง

รอบเเรก ลากผานพรวน 6 x 20 นิ้ว ดินเเห้ง ลึก 4 นิ้ว ตากดินให้เเห้ง เอาน้ำเข้า ใส่จุลินทรีย์ ทิ้งไว้สัก 5 วัน ลงโรตารี่จอบหมุน เอารอบเร็วสุด ดินจะเป็นเลนในรอบเดียวเลย จากนี้ใช้ ท่อเหล็ก 2 นิ้ว ยาว 3.5 เมตร ติดท้ายโรตารี ลากอีกรอบ ให้เรียบ ก็เป็นใช้ได้

การเตรียมดินเป็นโคลนลึก ไม่เป็นผลดีต่อเมล็ดข้าวงอก เพราะบางส่วนจะจมโคลนตาย ไม่ค่อยงอก และการลากจะหนักแรงมากและมีโอกาสที่น้ำโคลนจะสัมผัสกับรูกระบอกข้าว ทำให้เมล็ดข้าวไม่ค่อยออก(จากรู)


คำถามที่พบบ่อย

ขอทราบอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้ไร่ละกี่กิโลกรัม ผมกำลังจะหยอดแต่กะอัตราเมล็ดพันธุ์ไม่ถูก

ตอบ เครื่องหยอดเมล็ดข้าวงอกของเวียดนาม ขนาดรูหยอดโต 0.8 มม. ของอินเดีย รูโต 0.9 มม.ใช้อัตราเมล็ด พันธุ์ดังนี้ครับ ถ้าใช้รูถี่ 10 กก/ไร่ ถ้าใช้รูห่าง 6 กก./ไร่

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความยาวของเมล็ดพันธุ์ข้าวและความยาวรากของข้าวงอกจากการบ่มด้วย

ขั้นตอนการเตรียมดินจึงมีความสำคัญมาก อย่าให้เป็นเลนลึกเกิน 5 นิ้ว (ทำเทือกแล้ว อาจต้องพักไว้ 4-5 วัน ให้ดินเซ็ทตัวครับ)และระบายน้ำออกให้มากที่สุด พยายามอย่าให้มีบริเวณน้ำขัง เพราะ การหยอดเมล็ดลงที่ที่มีน้ำ เมล็ดจะเคลื่อนตำแหน่งทำให้แถวเบี้ยวได้ครับ

ถาม ผมยังสงสัยอยู่ว่า...ถ้าเราหยอดจะมีการจำกัดหญ้าไม่ให้ขึ้นก่อนข้าวยังไงครับ แล้วอีกอย่างจะทำอย่างไร ไม่ให้เมล็ดข้าวเคลื่อนย้ายหรือกระจัดกระจายไปไหน

ตอบ เรื่องหญ้าเกิดแซงข้าวใช้วิธี ตัดหญ้าตามร่อง จึงเป็นที่มาของการหยอดเป็นแถวเพื่อให้การจัดการหญ้าที่เรียบง่าย แต่ถ้าเราหว่านก็จะไม่เป็นแถวยากต่อการจัดการหญ้า นาดำหรือนาหยอด ถ้าใช้เครื่องกำจัดหญ้า (Rotary Weeder) จะได้ผลดี

ถาม ทำอย่างไรไม่ให้ข้าวกระจายหลังหยอดเมล็ด เพราะเมื่อเวลาเราหยอดเมล็ดแล้วข้าวจะอยู่บนพื้นนา มีโอกาสที่จะถูกนกกิน หรือเมื่อเวลาปล่อยน้ำเข้าแปลงนาจะกระจัดกระจายได้

ตอบ เราจำเป็นต้องทำพื้นนาให้มีความชื้นอยู่จนกว่าข้าวจะกลายเป็นต้นกล้าขึ้นมา เมื่อข้าวเป็นกล้าแล้ว รากก็จะยึดกับพื้นนาได้ หลังจากนั้นก็เติมน้ำเข้านาได้แล้ว (ที่สำคัญคือการทำพื้นนาให้มีความชื้นในระหว่างเป็นกล้า นั้นก็หมายความว่าต้องมีความชื้นอยู่ประมาณ สิบ- สิบห้าวัน)

อีกอย่างหนึ่ง ข้าวงอกที่หยอดในวันสองวันก็จะมีรากงอกออกมาแล้ว รากเมล็ดข้าวก็เจาะลงพื้นดินได้และจะยืดไม่ให้ลอยไปตาม น้ำได้ โดยปกติก็จะรอให้ข้าวงอกเป็นต้นก่อนจึงค่อยปล่อยน้ำเข้า เหมือนนาหว่านน้ำตมครับ เรื่องนี้ต้องระวังก่อนหว่านต้องสังเกตว่ามีเค้าฝนฟ้าจะตกไหม เพราะหากหว่านแล้วฝนตกเมล็ดข้าวอาจโดนฝนชะไปกับน้ำได้เหมือนก้น


ถาม อยากทราบระยะห่างของแต่ละแถว และ ระยะห่างของแต่ละกอในแถวเดียวกัน ของต้นข้าวที่เหมาะสมที่สุดครับ

ตอบ ดินดี 25 x 25 ซม.เลยครับ ดินดีน้อย 20 x 20 ซม. ผลผลิตและการเจริญเติบ จะบอกคุณเองตอนเก็บเกี่ยวครับ สภาพแต่ละท้องที่ แตกต่างกัน และธรรมชาติที่เราเข้าใจว่าดี คือเราคิดไปเอง


ข้อแย้ง
- นาหยอดน่าจะมีค่าแรงหยอดด้วยนะครับ
- การคิดต้นทุน น่าจะมีค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกด้วย
- เนื่องจากพื้นที่นาหยอดมากกว่าจึงทำให้ตัวเลขต่อตารางเมตรได้เปรียบ
- มีต้นทุนเรื่องค่าน้ำมันเครื่องสูบน้ำด้วยหรือเปล่าครับ

ผมเห็นตัวเลขนาดำเครื่อง ก็แปลกใจเหมือนกันสำหรับผลผลิตที่น้อยไปหน่อย แต่ถ้าให้ผลผลิตเท่ากับนาหยอด ต้นทุนนาหยอดก็ยังน้อยกว่าอยู่ดี

ตอบ
ทำนาหยอดแถว สามารถประหยัดต้นทุนหลัก ๆ ในส่วนของ เมล็ดพันธุ์ การเตรียมกล้า ค่าดำนา หรือค่าโยน ประมาณ 1,200 - 1,400 บาท/ไร่ ถ้าประมาณผลผลิตที่ 550 – 600 กก./ไร่

ดังนั้น ประหยัดหรือลดต้นทุนได้ 2.18 - 2.54 บาท/กก.

ที่มา: http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2903




Friday, August 15, 2014

เครื่องหยอดเมล็ดข้าว Direct Paddy Seeder

เครื่องหยอดเมล็ดข้าว เป็นหนึ่งในอุปกรณ์การปฏิวัติที่เปลี่ยนใบหน้าของหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำที่ กลองข้าวโดยตรง Seeder ได้ขจัดความจำเป็นในการปลูกและเวลาของการทำงานด้วยตนเองที่แท้จริงจะทำลายหลังของเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวไปที่สนาม ที่หนึ่งยืดที่มีความพยายามดำเนินการเดียวก็ครอบคลุม 8 แถว 20 ซมแถวแถวระยะห่างในเวลา สร้างขึ้นจากวัสดุพลาสติกซึ่งทำให้มันง่าย

ส่วนประกอบของเครื่องหยอดเมล็ดข้าว:

1 กลองเมล็ดเป็น hyperboloid รูปทรงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 มี 8 จำนวนหลุมวัดการเพาะ 9 มิลลิเมตรเส้นผ่าศูนย์กลางหลุมเป็น แผ่นกั้นที่มีให้ภายในถังเมล็ดพันธุ์ระหว่างหลุมเมล็ดพันธุ์เพื่อให้แน่ใจว่าอัตราเมล็ดพันธุ์สม่ำเสมอในการดำเนินงานเช่นเดียวกับที่เพื่อให้แน่ใจว่าลดลงเนินเขาของเมล็ด กลองเมล็ดพันธุ์แต่ละคนมีสองแถวของการปลูกและสี่กลองจะประกอบเป็นรูปแปดแถวของการปลูกที่ยืดเดียว

2 ล้อที่มีให้ที่ปลายทั้งสอง ล้อเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นจากวัสดุพลาสติกที่จะให้ลักษณะลอยตัว ขนาดของล้อเป็น 2 ฟุต

3 หนึ่งตารางเพลาจัดการฐานและจัดการ สี่กลองเมล็ดประกอบร่วมกับเพลาตาราง จับถ้าหมายถึงการดึงพร้อม

ขั้นตอนการเตรียม:

1 พุดดิ้งควรจะเตรียมความพร้อมและปรับ
2 น้ำควรจะระบายออกอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะหว่านเมล็ดในรูปแบบ slurrypan หนักของดินบ่อ
3 ในช่วงเวลาของการเพาะปลูกเพียงกระดาษบาง ๆ ของน้ำควรได้รับการรักษาในสาขาบ่อ
4 เมล็ดงอกเพียงแค่เต็มไปด้วยกระสอบควรใช้
5 น้ำที่ควรจะถูกน้ำท่วมที่สนามบ่อครั้งในสามวันหลังหยอดเมล็ดและท่อระบายน้ำออกไปทันที การปฏิบัติเช่นนี้จะยังคงเป็นเวลา 12 วัน หลังจากนั้นขึ้นอยู่กับความสูงของต้นกล้าน้ำควรได้รับอนุญาตให้ยืนอยู่ในสนาม

การดำเนินงานขั้นตอน:

1 ประกอบ เครื่องหยอดเมล็ดข้าวงอก และขันน็อตทั้งหมดและถั่ว
2 กรอกกลองด้วยเมล็ดก่อนงอก จำได้เพียงสองในสามของกลองจะต้องเต็มไปด้วยในเวลา
3 ปิดประตูของกลองและล็อค
4 ดึง Seeder ด้วยตนเองที่ความเร็วในการเดินปกติ (1 km / h) ในตำแหน่งข้างหลังดังแสดงในรูป
5 ความประทับใจในล้อผ่านแรกจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมาย
6 ในรหัสผ่านที่สองล้อควรส่งผ่านความประทับใจล้อเดียวกันของรหัสผ่านก่อนที่จะรักษาระยะห่างแถวต่อแถว 20 เซนติเมตร
7 ดำเนินการต่อการดำเนินการเพาะ
8 เป็นครั้งคราวชมลดลงของเมล็ดผ่านหลุมของ Seeder
9 เติมกลองเมื่อมันมาถึงความจุสี่
10 ดำเนินการต่อการดำเนินการเพาะ